คำสั่ง DOS เกี่ยวกับ network

การใช้คำสั่ง ping ในการตรวจสอบระบบเครือข่าย
การตรวจสอบระบบเครือ ข่ายอย่างง่าย สามารถที่จะทำได้โดยใช้คำสั่ง ping ซึ่งจะเป็นคำสั่งที่มีอยู่แล้วในระบบปฏิบัติการ Windows และ Linux เพียงแต่จะมีรูปแบบการใช้งานคำสั่งที่แตกต่างกัน
รูปแบบคำสั่ง ping บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์

C:\WINDOWS>ping

การ ใช้งานคำสั่ง ping ทั่วไปจะใช้คำสั่ง คือ ping ไอพีแอดเดรส เช่น ping 202.155.25.66 ping 100.10.15.20 หรือ อาจจะใช้คำสั่ง ping ไปยังชื่อโดเมนปลายทางก็ได้ เช่น ping www.yahoo.com หรือ ping www.geocity.com เมื่อใช้งานคำสั่งนี้ โปรแกรมจะส่งแพ็คเก็ตขนาด 32 ไบต์ออกไป 3 ครั้งแล้วรายงานผลกลับมา ซึ่งสามารถใช้ออพชั่นในการเปลี่ยนขนาดของแพ็คเก็ตหรือจำนวนครั้งของการส่ง ได้
ตัวอย่างการใช้งานออพชั่นต่างๆ ของโปรแกรม ping
ping -t 10.0.20.15 เป็นการกำหนดให้ใช้คำสั่ง ping ไปยังเป้าหมายเรื่อยๆไม่มีการหยุดจนกว่าผู้ใช้คำสั่ง ping จะกดปุ่ม Ctrl + C เพื่อยกเลิกการ ping หรือ กด Ctrl + Break เพื่อหยุด
ping -n 300 10.0.50.12 โปรแกรมจะทำการ ping ไปยังเครื่อง 10.0.50.12 จำนวน 300 ครั้งแล้วหยุดเอง


การรายงานข้อผิดพลาดของคำสั่ง ping
เมื่อ คำสั่ง ping ทำงานแล้วไม่ว่าระบบเครือข่ายจะสามารถเชื่อมต่อได้หรือไม่ก็ตาม คำสั่ง ping ก็จะรายงานผลการใช้งานออกมา เมื่อไม่สามารถติดต่อกับเครือข่ายได้จะมีรายงานผลดังนี้
1.Request time out
ข้อ ผิดพลาดนี้ หมายความว่า เมื่อคำสั่ง ping ส่งแพ็คเกจ ไปยังเครื่องปลายทางแล้วเครื่องปลายทางไม่ตอบกลับมาภายในเวลาที่กำหนด ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะมีดังนี้
- เครื่องปลายทางไม่ได้เปิดอยู่
- ระบบเครือข่ายช้ามาก ไม่สามารถตอบรับการ ping ได้ภายในเวลาที่กำหนด
- ระบบเครือข่ายมีปัญหาไม่สามารถติดต่อกับเครื่องปลายทางได้
- เครื่องปลายทางทำงานหนักมากไม่สามารถตอบรับการ ping ได้ทัน

2. No route to host
ข้อผิดพลาดนี้เกิดจาก ความผิดพลาดของ เราติ้งเทเบิล ปัญหาที่พบบ่อยก็คือ
- ไม่มีการระบุดีฟอล์ตเราติ้งเทเบิลหรือไม่มีการระบุเกตเวย์
- ไม่มีการระบุเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องปลายทาง
- โมเด็มหลุดหรือสายแลนหลุดแล้วทำให้ดีฟอล์ตเทเบิลหายไป


3. Host unknown
ข้อ ผิดพลาดนี้เกิดจากการที่เราสั่งให้ ping เป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถ เปลี่ยนชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไอพีแอดเดรสได้

'nslookup' สามารถใช้เพื่อ Reverse DNS lookup

ดังนั้นถ้าคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์หรือคุณสามารถใช้งานมันได้
ขั้นแรกคุณต้องหาว่าคำสั่ง nslookup อยู่ตรงไหนโดยการใช้คำสั่งต่อไปนี้:

$>nslookup IP Address
เราพิมพ์ IP แอดเดรสลงไป ในที่นี้เราพิมพ์ 203.94.12.01
(ซึ่งเป็น IP ที่ผมต้องการหา)
$>nslookup 203.94.12.01
คุณ จะเห็นผลลัพธ์ออกมาเป็น: mail2.nol.net.in ในตอนนี้ถ้าคุณดูที่ชื่อ hostname ที่เปลี่ยนมาจาก***พีแอดเดรสอย่างตั้งใจ จะเห็นได้ว่าส่วนหลังสุดจะบอกถึง ประเทศที่ระบบนั้นตั้งอยู่ จากตัวอย่างคุณเห็น '.in' ซึ่งบอกว่าระบบนี้อยู่ในประเทศอินเดีย ทุกประเทศมีรหัสประเทศของตัวเองซึ่งจะเห็นได้บ่อยมากกว่าชื่อท้ายสุดที่ไม่ ใช่รหัสประเทศ วิธีนี้สามารถใช้เพื่อค้นหาว่าคน ๆ นั้นอยู่ในประเทศใหน


ผู้ใช้วินโดวส์สามารถตามรอยของ IP โดยการพิมพ์คำสั่ง tracert

C:\windows>tracert IP หรือ Hostname

สำหรับวิธีใช้คำสั่งนี้ พิมพ์ว่า: 'tracert' ที่ดอสพรอมพ์
ต่อมาเรามาดูที่ผลที่ได้เมื่อผมตามรอย***พีของผมเอง โปรดสังเกตว่าผมอยู่ที่เมืองนิวเดลลีในอินเดีย ให้ดูชื่อของ hostname
อย่างละเอียด แล้วคุณจะพบว่ามันได้ เปิดเผยถึงเมืองต่าง ๆ ที่แพ็คเกตผ่าน

C:\windows>tracert 203.94.12.54

Tracing route to 203.94.12.54 over a maximum of 30 hops

1 abc.netzero.com (232.61.41.251) 2 ms 1 ms 1 ms
2 xyz.Netzero.com (232.61.41.0) 5 ms 5 ms 5 ms
3 232.61.41.10 (232.61.41.251) 9 ms 11 ms 13 ms
4 we21.spectranet.com (196.01.83.12) 535 ms 549 ms 513 ms
5 isp.net.ny (196.23.0.0) 562 ms 596 ms 600 ms
6 196.23.0.25 (196.23.0.25) 1195 ms1204 ms
7 backbone.isp.ny (198.87.12.11) 1208 ms1216 ms1233 ms
8 asianet.com (202.12.32.10) 1210 ms1239 ms1211 ms
9 south.asinet.com (202.10.10.10) 1069 ms1087 ms1122 ms
10 backbone.vsnl.net.in (203.98.46.01) 1064 ms1109 ms1061 ms
11 newdelhi-01.backbone.vsnl.net.in (203.102.46.01) 1185 ms1146 ms1203 ms
12 newdelhi-00.backbone.vsnl.net.in (203.102.46.02) ms1159 ms1073 ms
13 mtnl.net.in (203.194.56.00) 1052 ms 642 ms 658 ms

ผลลัพธ์ข้างบนแสดงให้เราเห็นถึงเส้นทางที่ข้อมูลได้เดินทางผ่านไปดังนี้:
Netzero (***เอสพีที่ส่งข้อมูลออกไป) ---> Spectranet (A Backbone Provider) ----->New York ISP --->New York Backbone -> Asia --> South Asia -> India Backbone --> New Delhi Backbone--> Another router in New Delhi Backbone ---> New Delhi ISP

แสดงให้เห็นถึงสถานที่อยู่ของผมจริง ๆ ที่เป็น: นิวเดลลี, อินเดีย, เอเชียใต้
บางครั้งการใช้คำสั่ง 'tracert' โดยใช้***พี ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เลย คุณเห็นจากตัวอย่างข้างบนว่า hostname
ได้ บอกถึงชื่อเมืองหรือประเทศที่ระบบนั้นตั้งอยู่ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งชื่อ hostname แทบจะไม่ได้บอกอะไรที่เป็นประโยชน์เลย สมมติว่าการตามรอยจบลงที่ hostname abc.com จะทำให้ไม่ชัดเจนและไม่ให้ร่องรอยที่ให้ค้นหาได้เลยว่า ระบบนั้นอยู่ที่ไหน

tracert << ตรวจสอบการเดินทางของแพ็กเก็จ
telnet << ที่จริงใช้ในการ telnet ไปควบคุมเครื่อง แต่ผมใช้ตรวจสอบการเปิด-ปิดพอร์ตเครื่องปลายทาง(ประโยชน์อีกอย่าง เผื่อติดไฟร์วอล)
route << ตรวจสอบตาราง routing table
ipconfig << ตรวจสอบ ip address

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น